บุคลากรตัวอย่างด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปี 2558

รองศาสตราจารย์ ดร.สรรพสิทธิ์ กล่อมเกล้า

      ข้อมูลส่วนตัว       ข้อมูลด้านการทำวิจัย       ผลงานตีพิมพ์       การใช้ประโยชน์       การสร้างเครือข่าย       การสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยหรือการได้รับการยกย่องในวงวิชาการ  

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

ด้านการพัฒนาต่อสังคมหรือชุมชน

            เนื่องจากงานวิจัยของ รศ.ดร.สรรพสิทธิ์ กล่อมเกล้า จะเกี่ยวข้องกับเคมีและชีวเคมีทางอาหารทะเล เน้นด้านเอนไซม์และโปรตีนจากสัตว์น้ำ จากงานวิจัย ของ
อาจารย์ จะศึกษาการสกัดและเก็บเกี่ยวเอนไซม์ทริปซินจากเครื่องในปลา ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปและการบริโภค เช่นเครื่องในปลาดุกร้า จากอุตสาหกรรม
การแปรรูปปลาดุกร้า เครื่องในปลาทูน่าจากอุตสาหกรรมการแปรรูปปลาทูน่า หรือการสกัดสารยับยั้งเอนไซม์ทริปซิน จากไข่ปลาทูน่าเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
อุตสาหกรรมแปรรูปซูริมิ เป็นต้น ดังนั้นผลงานวิจัยดังกล่าว สามารถนำวัสดุเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปมาก่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเพิ่มมูลค่า
วัสดุเศษเหลือทิ้ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้มากยิ่งขึ้น และลดปัญหาการกำจัดและการจัดการของเสียสังคมและชุมชนได้

 
 

ด้านการพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์

            1. จากงานวิจัยของอาจารย์ อาจารย์สามารถผลิตเอนไซม์ทริปซินที่ผ่านทำบริสุทธิ์จากเครื่องในปลาต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ทดแทน เอนไซม์ทางการค้า
ซึ่งมีราคาแพง และลดการนำเข้าเอนไซม์ทริปซินได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป โดยอาจารย์ได้รับโครงการวิจัยด้านนี้จากทุนพัฒนาศักยภาพ
ของอาจารย์รุ่นใหม่ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ถึง 2 ครั้ง รวมถึงทุนจากในประเทศ ได้แก่ งบประมาณเงินแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการ
อุดมศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับทุนจาก International Foundation for Science ประเทศสวีเดนถึง 2 ครั้ง

            2. การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสตจากกล้ามเนื้อปลาที่มีราต่ำ รวมถึงจากเครื่องในปลาซึ่งมีสมบัติเชิงหน้าที่ที่ดีและมีกิจกรรมการต้าน ออกซิเดชัน
สามารถนำไปพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ เชิงพาณิชย์ต่อไปได้ โดยได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและงบประมาณเงินแผ่นดิน

            3. การผลิตสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเนสจากพืชตระกูลถั่ว เช่นจากถั่วเขียวและถั่วอะซูกิ และจากไข่ปลาทูน่า เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เพื่อลดการนำเข้า
สารยับยั้ง เอนไซม์โปรตีเนสที่มีราคาแพง และสามารถไปใช้เพิ่มความแข็งแรงของเจลซูริมิได้ โดยได้รับทุนวิจัย ทุนพัฒนานักวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย (สกว.)
            4. การปรับปรุงคุณภาพเจลซูริมิโดยใช้สารยับยั้งเอนไซม์ทริปซินจากถั่วเขียวและถั่วอะซูกิและจากไข่ปลาทูน่า โดยสามารถเพิ่มความแข็งแรง
ของเจลทำให้ซูริมิมีคุณภาพดีขึ้นและราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ไปยังผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ได้แก่
หจก.ทวีลาภการประมง จังหวัดตรัง และสามารถทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น โดยได้รับทุนวิจัยจากทุนพัฒนานักวิจัยจากสำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและงบประมาณเงินแผ่นดิน

 
 

ด้านการสร้างองค์ความรู้เชิงวิชาการ

            ได้นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยชิ้นนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่วิชา หลักการวิเคราะห์
อาหาร เครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพ และโปรตีนในอาหาร ในหัวข้อ เทคนิคโครมาโตกราฟี อิเลคโตรฟอริซีส การวิเคราะห์ปริมาณ โปรตีน นอกจากนี้ยังใช้ประกอบ
การเรียนการสอนวิชา หัวข้อเฉพาะทางทางเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีและวิศวกรรมโปรตีน เอนไซม์ในอาหาร เคมีอาหาร เทคโนโลยีการหมักและ หลักเทคโนโลยี
ชีวภาพ ซึ่งทำให้นิสิตได้ทราบองค์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัย และทำให้นิสิตเข้าใจมากยิ่งขึ้น
            อาจารย์ยังนำองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย มาผลิตสื่อการสอน เช่น ตำราและหนังสือ (book chapter) โดยเอกสารประกอบการสอนและเอกสาร
คำสอน ได้ผลิตขึ้น เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในระดับดีมาก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา และปรับปรุงเอกสาร
ประกอบการสอน เอกสารคำสอน จนกระทั่งเป็นตำรา จากองค์ความรู้งานวิจัยที่อาจารย์ค้นพบเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้อาจารย์ยังได้รับเชิญ
จาก Editor หนังสือ Enzyme in Fish Processing ในการเขียนหนังสือด้วย และจาก Editor หนังสือ Food Biochemistry and Food Processing ,
Second Edition อีกหลายบท ดังรายละเอียดด้านล่าง

 

การใช้ประโยชน์ต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

 

            รศ.ดร.สรรพสิทธิ์ กล่อมเกล้า ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับสมบัติทางชีวเคมีของสัตว์น้ำ โดยปัจจุบันได้เน้นการศึกษาเอนไซม์จากสัตว์น้ำในชุมชนภาคใต้
เช่น โครงการวิจัยการสกัด การทำบริสุทธิ์และเก็บเกี่ยวเอนไซม์     ทริปซินจากเครื่องในปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูป โดยเฉพาะการ
แปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมากในชุมชนภาคใต้ของไทย โดยพบมากในจังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนั้นผลงานวิจัย
ชิ้นนี้ สามารถนำวัสดุเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปของชุมชนภาคใต้มาก่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุเศษเหลือทิ้ง ซึ่งอาจทำให้
ผู้ประกอบการมีรายได้มากยิ่งขึ้น และสามารถลดปัญหาการกำจัดและการจัดการของเสียจากชุมชนได้

 
 

            นอกจากนี้ รศ.ดร.สรรพสิทธิ์ กล่อมเกล้า ศึกษาถึงการประยุกต์ใช้เอนไซม์โปรตีเนสจากสัตว์น้ำที่สกัดได้ เช่น การผลิตโปรตีน ไฮโดรไลเสต จากกล้าม
เนื้อปลา ซึ่งมีราคาถูกและจากเครื่องในปลาซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูป และศึกษาสมบัติเชิงหน้าที่และกิจกรรม การต้านออกซิเดชันของ โปรตีน
ไฮโดร ไลเสตที่ผลิตได้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปซูริมิ ไส้กรอก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเจล
รวมถึงป้องกันการเกิด ออกซิเดชันของผลิตภัณฑ์ได้ เป็นต้น ดังนั้นไม่เฉพาะแต่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าปลาให้กับชาวประมง ยังเป็นการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์
ซูริมิได้อีกด้วย

 
 

            อาจารย์ยังมีความสนใจการผลิตสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเนสจากพืชตระกูลถั่วและจากไข่ปลาทูน่า ซึ่งไข่ปลาทูน่าเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งจาก การแปรรูป
โรงงานแปรรูปปลาทูน่า โดยจะเป็นปัญหาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการแปรรูปปลาทูน่า ดังนั้นอาจารย์จึงศึกษาการสกัดและการเก็บเกี่ยว สารยับยั้งเอนไซม์
โปรตีเนสจากถั่วชนิดต่าง ๆ ที่เพาะปลูกในประเทศไทย รวมถึงจากไข่ปลาทูน่าซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้ง ซึ่งมีปริมาณสูงและสามารถนำไปใช้เพิ่มความแข็งแรง
ของเจลซูริมิ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุดกับอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ

            ดังนั้นจะเห็นได้ว่า งานวิจัยของอาจารย์สามารถช่วยเหลือชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ